|
ประวัติตำบล |
|
 |
|
|
|
ชุมชนบ้านกร่าง เดิมเป็นชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตรงบริเวณวัดบ้านกร่างในปัจจุบัน เหตุที่เรียกว่า “ชุมชนบ้านกร่าง” เนื่องจากมีต้นกร่างขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นศูนย์กลางการค้าขายทางเรือ เนื่องจากมีท่าเทียบเรือ โดยจะมีเรือกำปั่นขนสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน และเป็นแหล่งกระจายสินค้าไปสู่ชุมชนต่างๆ โดยใช้เกวียนบรรทุกสินค้า โดยสภาพพื้นที่เป็นทางผ่านของการคมนาคมทางบก ประกอบกับเป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำท่าจีน จึงมีประชาชนอพยพมาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ เกิดเป็นกลุ่มคน เป็นชุมชนต่างๆ |
|
|
|
ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ทางราชการจึงได้รวบรวมกลุ่มชมชนต่างๆ เข้าเป็นหมู่บ้าน ตำบล โดยใช้ชื่อว่าตำบลบ้านไร่ ซึ่งมีนายปุย พลเสน เป็นกำนันตำบลบ้านไร่ ต่อมาเมื่อนายวิภาส อินสว่าง ขึ้นเป็นกำนันตำบลบ้านไร่ เห็นว่าพื้นที่ตำบลบ้านไร่กว้างเกินไป และกินพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน การปกครองดูแลเป็นไปอย่างยากลำบาก การสัญจรไปมาใช้ทางเรือเท่านั้น จึงได้ขอแบ่งแยกฝั่งทางทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนออกมาตั้งเป็นตำบลใหม่ และตั้งชื่อว่า "ตำบลบ้านกร่าง"
ซึ่งประกอบด้วยหมู่บ้านต่างๆ จำนวน 6 หมู่บ้าน โดยมีนายวิภาส อินสว่าง เป็นกำนันคนแรกของตำบลบ้านกร่าง |
|
|
ประวัติหน่วยงาน |
|
 |
|
|
|
ตำบลบ้านกร่าง จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศลงวันที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ.2539 และกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง อำเภอประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเทศบาลตำบลบ้านกร่าง ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2555 |
|
|
|
ตราสัญลักษณ์ |
|
 |
|
|
สัญลักษณ์ |
รูปพระขุนแผนทรงพลใหญ่อยู่กลางวงกลม |
ที่มา |
พระขุนแผนทรงพลใหญ่ คือพระเครื่องที่มีชื่อเสียงของตำบลบ้านกร่าง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทั่วไป |
สื่อความหมายถึง |
ชุมชนตำบลบ้านกร่าง เป็นชุมชนที่มีการดำเนินชีวิตโดยยึดถือในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา มีจิตใจเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรัก ความสามัคคี อยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างสงบสุข |
|
|
|
ที่ตั้ง |
|
 |
|
|
|
สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านกร่าง ตั้งอยู่ เลขที่ 222 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ศรีประจันต์ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นที่ตั้งของ หมู่ที่ 1 ส่วนที่ 2 เป็นที่ตั้ง ของหมู่ที่ 2 - 6 โดยมีพื้นที่ ของเทศบาลตำบลศรีประจันต์กั้นกลาง เนื้อที่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านกร่างมีทั้งหมดประมาณ 23.007 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 14,379.375 ไร่ |
|
|
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลวังหว้า |
อำเภอศรีประจันต์ |
จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลมดแดง |
อำเภอศรีประจันต์ |
จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
แม่น้ำท่าจีน |
อำเภอศรีประจันต์ |
จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลบางงาม |
อำเภอศรีประจันต์ |
จังหวัดสุพรรณบุรี |
|
|
 |
|
จำนวนประชากร |
|
 |
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 5,276 คน แยกเป็น |
|
ชาย จำนวน 2,517 คน |
คิดเป็นร้อยละ 47.71 |
|
หญิง จำนวน 2,759 คน |
คิดเป็นร้อยละ 52.29 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,984 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 229.32 คน/ตารางกิโลเมตร |
ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2564 จากงานทะเบียนราษฎร์อำเภอศรีประจันต์ |
|
|
|
|
|
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
1 |
บ้านทำเน |
382 |
422 |
804 |
281 |
2 |
บ้านกร่าง |
124 |
131 |
255 |
159 |
3 |
บ้านดอนบุบผาราม |
712 |
733 |
1,445 |
477 |
4 |
บ้านปู่เจ้า |
512 |
583 |
1,095 |
424 |
5 |
บ้านกล้วย |
442 |
508 |
950 |
375 |
6 |
บ้านดงตาป้อม |
345 |
382 |
727 |
268 |
|
รวมทั้งสิ้น |
2,517 |
2,759 |
5,276 |
1,984 |
|
|